Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • ค่าเงินบาทวันนี้ อ่อนลงต่อเนื่อง 35.58 นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักเฟดคงดอกเบี้ยต่อ

ค่าเงินบาทวันนี้ อ่อนลงต่อเนื่อง 35.58 นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักเฟดคงดอกเบี้ยต่อ

ยอมรับ "โครงการดิจิทัลวอลเล็ต" ไม่ทันเดือน พ.ค. นี้แน่นอน

ราคาทองวันนี้ (18 ม.ค.2567) เปิดตลาด "ลดลง 150 บาท"

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2567 ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งเกิดคาด

ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% ส่วนเมื่อเทียบรายปี ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 5.6% ในเดือน ธ.ค.

โดยทำให้นักลงทุนปรับลดน้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. และเพิ่มน้ำหนักต่อการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในเดือนดังกล่าว

ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 55% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 19-20 มี.ค. หลังจากที่ให้น้ำหนักกว่า 60% ในช่วงก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยยอดค้าปลีก นอกจากนี้ นักลงทุนให้น้ำหนัก 40.9% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันดังกล่าว หลังจากที่ให้น้ำหนัก 34.9% ก่อนหน้านี้

ขณะที่ Fund flow เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตรสุทธิ1,573 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 5,749 ล้านบาท

กรอบค่าเงินบาทวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ

  • USD/THB 35.50- 35.80 แนะนำ ทยอยซื้อที่ 35.50/ ขาย 35.80
  • EUR/THB 38.60-39.00 แนะนำ ซื้อ38.60/ ขาย 38.90
  • JPY/THB 0.2390-0.2430 แนะนำ ซื้อ0.2390/ ขาย 0.2420
  • GBP/THB 45.00-45.40
  • AUD/THB 23.20-23.60

นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน หลังผู้เล่นในตลาดต่างลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ย “เร็วและลึก” ของเฟด อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ก็ชะลอการแข็งค่าลงบ้าง ตามการรีบาวด์ขึ้นของเงินยูโร (EUR) ที่ได้แรงหนุนจากถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB ซึ่งยังย้ำจุดยืนไม่รีบลดดอกเบี้ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ขณะเดียวกัน รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจของบรรดาเฟดสาขาต่าง ๆ (Fed Beige Book) ก็ไม่สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งมากนัก ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังมีความหวังต่อการรีบลดดอกเบี้ยของเฟดอยู่บ้าง ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 103.4 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 103.3-103.7 จุด)

  ค่าเงินบาทวันนี้ อ่อนลงต่อเนื่อง 35.58 นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักเฟดคงดอกเบี้ยต่อ

สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด อาทิ Raphael Bostic (Voter) และรอจับตารายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ อย่าง ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของเฟด

ส่วนในฝั่งยุโรป คาดว่า ผู้เล่นในตลาดจะจับตารายงานการประชุม ECB ล่าสุด และถ้อยแถลงของประธาน ECB เพื่อประเมินแนวโน้มทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของ ECB เช่นกัน

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยประเมินว่า ผู้เล่นในตลาดที่เริ่มไม่มั่นใจว่า เฟดจะสามารถลดดอกเบี้ยได้ “เร็วและลึก” ตามที่คาดหวัง ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงได้ ตามการปรับตัวขึ้นของเงินดอลลาร์ บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ และการปรับตัวลดลงของบรรดาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งทองคำและน้ำมันดิบ ซึ่งหนุนให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนต่างทยอยเข้าซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ดังกล่าวในจังหวะปรับฐานโดยโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลง

อย่างไรก็ตาม ควรจับตาแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายของทางฝั่งธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ควบคู่ไปด้วย เพราะหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจากฝั่งยูโรโซนและอังกฤษ รวมถึงถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB และ BOE ยังคงสะท้อนว่า ทั้งสองธนาคารกลางก็อาจไม่รีบปรับลดดอกเบี้ยเช่นกัน ภาพดังกล่าวก็อาจช่วยหนุนเงินยูโร (EUR) และเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ซึ่งจะช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ได้บ้าง

และนอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว ควรจับตาทิศทางเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ซึ่งมีน้ำหนักราว 14% ในการคำนวณดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ทำให้การผันผวนของเงินเยนญี่ปุ่นก็อาจส่งผลต่อทิศทางเงินดอลลาร์ได้พอสมควร โดยในช่วงนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญญี่ปุ่น โดยเฉพาะ อัตราเงินเฟ้อ CPI เพื่อประเมินความเป็นไปได้ ของการปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้นของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในปีนี้ โดยหากตลาดลดโอกาสที่ BOJ จะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น ก็อาจกดดันให้เงินเยนญี่ปุ่นผันผวนอ่อนค่าลงได้ต่อเนื่องจากระดับปัจจุบันแถว 148 เยนต่อดอลลาร์

ทั้งนี้ แม้ว่าเงินบาทจะเผชิญปัจจัยกดดันอ่อนค่าพอสมควร ทว่าการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นไทยจนเข้าใกล้จุดต่ำสุดก่อนหน้า พร้อมกับการอ่อนค่าพอสมควรของเงินบาทในช่วงนี้ ก็อาจเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติรอจังหวะทยอยเข้าซื้อหุ้นไทยในช่วงปรับฐานอีกครั้งได้ ซึ่งหากนักลงทุนต่างชาติทยอยกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ไทยบ้าง ก็จะช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้ ทำให้เราประเมินว่า แนวต้านเงินบาทอาจยังอยู่ในโซน 35.70-35.80 บาทต่อ (ใกล้กับโซนที่เราประเมินเชิง Valuation ว่าเงินบาท Undervalued พอสมควร) ขณะเดียวกัน เงินบาทก็ยังขาปัจจัยสนับสนุนการแข็งค่า ทำให้โซนแนวรับยังอยู่แถว 35.20-35.30 บาทต่อดอลลาร์ (แนวรับถัดไปคือ 35.00 บาทต่อดอลลาร์)

เปิดรายชื่อผู้เสียชีวิต เหตุโรงงานพลุระเบิด สุพรรณบุรี

ศาลสั่ง “ศักดิ์สยาม” พ้นรมต.เซ่นปมหุ้น หจก.บุรีเจริญฯ

“ตรุษจีน 2567” วันจ่าย-วันไหว้-วันเที่ยว ตรงกับวันไหน ทำไมแต่ละปีไม่ตรงกัน